การเกิดสึนามิของจังหวัดตรัง


ผลกระทบจากการเกิดสึนามิของจังหวัดตรัง





เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.3 ริกเตอร์ ที่จังหวัดอาเจ๊ะห์บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดสึนามิโถมเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่งรอบมหาสมุทรอินเดีย และ  6 จังหวัดชายฝั่งอันดามันของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง จนถึงสตูล ได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
ภูมิศาสตร์ก่อนการเกิด




จากแหล่งข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)เรียกโดยย่อว่า สทอภ.ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบดูความเสียหายจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มหลังได้ภาพถ่ายจาก ดาวเทียม เพื่อเร่งบูรณะซ่อมแซมให้คืนสู่สภาพเดิม โดยได้ประมวลผลข้อมูลจากกล้องโมดิส (MODIS) ซึ่งติดตั้งบนดาวเทียม "เทอร์รา" (TERRA)และ"อควา" (AQUA) ใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หลังจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์
สึนามิ (Tsunami) ถล่มชายฝั่งทะเลใน 6 จังหวัด ภาคใต้ของไทย

แผนที่ลักษณะภูมิประเทศและโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดตรัง




การเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังภัยพิบัติ





ภาพจากข้อมูลดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน  ตั้งแต่จ.ระนอง –
จ.ภูเก็ต ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ  ภาพซ้าย บันทึกเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547  เวลา 11.00 แสดงให้เห็นถึงสภาพที่ยังสงบของชายฝั่งทะเล ก่อนเหตุการณ์ 4 วัน ส่วนภาพกลางและภาพขวา บันทึกเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 เวลา 10.35 และ13.35 ตามลำดับ ขณะเกิดคลื่นซัดสังเกตเห็นได้ว่าบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก มีรอยสีขาว ซึ่งเป็นคลื่นขณะซัดเข้าฝั่งรวมถึงตะกอนดินที่เกิดจากการพัดและม้วนตัวของคลื่นสึนามิ และในช่วงบ่าย หลังจากเหตุการณ์สงบลงแล้วสังเกตเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลง ของแนวชายฝั่งที่ไม่ราบเรียบเหมือนก่อนเกิดเหตุ

ลำดับเหตุการณ์ของสึนามิที่มีผลกระทบกับประเทศไทย
ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 โดยมียอดคลื่นสูงสุด10 เมตร พัดเข้าสู่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
-    เวลา 09.35 น. น้ำทะเลแห้งจากบริเวณชายหาดโดยถดถอยลงเป็นระยะทาง 100 เมตร เป็น เวลา 5 นาที
-    เวลา 09.38 น. คลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร เข้ากระทบฝั่ง
-    เวลา 09.43 น. คลื่นสูง 6-7 เมตร เข้ากระทบฝั่ง
-    เวลา 10.03 น. คลื่นสูงเกินกว่า 10 เมตร เข้ากระทบฝั่งเป็นเวลา 20 นาที
-    เวลา 10.20 น. คลื่นสูง 5 เมตร เข้ากระทบฝั่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง และ
-    น้ำทะเลกลับสู่ระดับปกติเวลาประมาณ 12.00 น.

ภูมิศาสตร์หลังการเกิด
ลักษณะของแผ่นดินที่มีการยุบและทรุดตัว  ทำให้เกิดหลุมยุบในบริเวณที่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น โดยเมื่อเพดานของโพรงหินปูนใต้ดินต้านทานน้ำหนักของดินและสิ่งก่อสร้างที่กดทับด้านบนไม่ไหว จึงพังทลายเป็นหลุมยุบ  ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2538 ถึงเดือนมกราคม 2548 มีการเกิดหลุมยุบทั่วประเทศมากกว่า 66 พื้นที่ ในจำนวนนี้ 25 พื้นที่ เกิดหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และส่วนใหญ่พบในจังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน    เช่น  ทะเลในของหมู่เกาะอ่างทอง ถ้ำมรกตที่จังหวัดตรัง และทะเลบันที่จังหวัดสตู]



******* มีรายงานว่าที่จังหวัดตรัง มีนักท่องเที่ยวติดอยู่ที่ถ้ำมรกต 50 กว่าคน เจ้าหน้าที่ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าไปบินวนเพื่อช่วยชีวิต และมีรายงานผู้เสียชีวิตในถ้ำ 2 ราย
******* และคลื่นยักษ์สึนามิได้ทำลายบ้านเรือนของชาวบ้านในเกาะมุกไปมากกว่า 100 หลังคาเรือน รวมไปถึงเครื่องมือในการประมงอีกกว่า 200 ราย



สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาก่อนการเกิดสึนามิ

สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาหลังการเกิดสึนามิ
หลังการเกิดสึนามิทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและยิ่งใหญ่  โดยสร้างความเสียหายให้กับผู้คนในพื้นที่ชายฝั่งเป็นอย่างมากทั้งชีวิตผู้คน ที่อยู่  อาศัย และงานอาชีพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง   สิ่งที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนและรวดเร็ว  ทางด้านระบบนิเวศที่เกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำในทะเล การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายหาดที่ขาวสะอาดกลายเป็นพื้นที่หาดโคลนพื้นที่หญ้าทะเล รวมทั้งการกัดเซาะชายฝั่งและการทับถมของตะกอนดินที่เพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศและวิถีชีวิตมากมาย








-ปะการัง
จากเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ทำให้เกิดความเสียหายต่อปะการัง มากบ้างน้อยบ้าง ตามตำแหน่งที่อยู่ของปะการังชนิดนั้น ๆ ปะการังที่เสียหายส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณน้ำตื้น เช่นที่ เกาะตะเกียง และ เกาะเภตรา ส่วนปะการังที่อยู่ในน้ำลึกจะมีผลกระทบน้อยนั้นอยู่ในบริเวณ เกาะหลาวเหลียง


-                    แหล่งหญ้าทะเล
จังหวัดตรังถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลใหญ่ที่สุดในประเทศไทยถึง 12 ชนิด และจากการสำรวจล่าสุดก็ยังพบหญ้าทะเลมีความสมบูรณ์เหมือนเดิม   หญ้าทะเลในพื้นที่ทะเลจังหวัดตรัง ที่โดนผลกระทบจากคลื่นสึนามิเมื่อปี" 2547  จนทำให้แหล่งหญ้าทะเลในจังหวัดตรังได้รับความเสียหายไปประมาณ 5% โดยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณพื้นที่เกาะลิบง ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง ปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลเหล่านั้นได้ฟื้นตัวกลับคืนมาแล้ว  สำหรับแหล่งหญ้าทะเลที่สำคัญของจังหวัดตรัง ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณพื้นที่เกาะลิบง เกาะมุกด์ หาดเจ้าไหม ไปจนถึงเกาะหมู รวมเนื้อที่ประมาณ 20,000 ไร่
โดยเฉพาะที่เกาะลิบงเพียงแห่งเดียว ก็มีแหล่งหญ้าทะเลถึง 12,000 ไร่ จากเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากชายฝั่ง ปัจจุบันชาวบ้านหันมาอนุรักษ์พะยูนกันมากขึ้นนั้น ทำให้มีส่วนต่อการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูนด้วย
สำหรับการประมง หรือการก่อสร้างริมชายฝั่งทะเล ถือเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งหญ้าทะเล หากขาดการดูแลอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และอาจต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี กว่าจะฟื้นกลับมาได้ดังเดิม 


ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวก่อน-หลัง  เกิดสึนามิ

ผลกระทบจากสึนามิทำให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทย        ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง (-10%) เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกตกอยู่ในภาวะตกตะลึงกับความเสียหายที่ไม่คาดคิดมาก่อน  รวมถึงต่างเฝ้ารอดูสถานการณ์ความปลอดภัยและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา        (wait and see) อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่สอง สถานการณ์เริ่มฟื้นตัวมาเป็นลำดับ โดยมีการชะลอตัว           น้อยลง (-1%) และปรับตัวมาอยู่ในแนวบวกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเติบโตร้อยละ 2 ในไตรมาสที่สาม และร้อยละ 4 ในไตรมาสสุดท้าย เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้นักท่องเที่ยว    ส่วนใหญ่ที่นิยมการท่องเที่ยวทางทะเลได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาเที่ยวทะเลแถบอ่าวไทยในจังหวัดทางเลือกอื่น นอกเหนือจากแถบอันดามัน คือ ตราด หัวหิน และสมุย ทดแทน โดยแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวมีอัตราการเข้าพักในปีนี้สูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา  ประกอบกับในช่วงปลายปีได้มีการจัดงานรำลึก ครบรอบหนึ่งปีสึนามิ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยไปทั่วโลก และแสดงให้เห็นสภาพการฟื้นตัวกลับมาสู่สภาพปกติของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบ

 

 






หลังเกิดสึนามิ

"อ่าวสิเกา" หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่คู่กับ อ.สิเกา จ.ตรัง มานานแล้ว แต่เพิ่งจะได้รับการบูรณะ และฟื้นฟูอย่างเป็นทางการก็ในคราวที่แนวปะการังใต้ทะเลหน้าอ่าวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 มานี้เอง แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของหน่วยราชการ และคนท้องถิ่น จึงทำให้ท้องทะเลบริเวณอ่าวสิเกากลับมามีความสวยงามอีกครั้ง ล่าสุด เสรี พาณิชย์กุล นายอำเภอสิเกา ได้ร่วมมือกับ กิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง และสำนักงานประมงจังหวัดตรัง จัดโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่อ่าวสิเกาขึ้น ชื่อ "โครงการประมงนำชมวิถีชีวิต และทรัพยากรชายฝั่งอ่าวสิเกา" จุดที่จะส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยว จะเริ่มตั้งแต่ท่าเรือที่บ้านปากคลอง ต.บ่อหิน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำประมงพื้นบ้าน






                             

บรรณานุกรม

การเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังภัยพิบัติ.  (2547).  ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 24, 2554,
                จาก http://www .gistda.or.th/gistda_n/index.php/gallery-events
นักท่องเที่ยวเมืองตรัง. (2553).  ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 24, 2554, จาก  http://www.skyscrapercity.
com /showthread.php?t=1035221&pa ge=42
แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศจังหวัดตรัง.  (2547).  ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 24, 2554,
จาก http://www.gisthai.org/research/tsunamis/trang.html
ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม.  (2550).  ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 24, 2554, จาก  http://www.thaimtb.
com/cgi-
ภูมิศาสตร์หลังการเกิด.  (2547).  ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 24, 2554, จาก  http://www.
thaihealth.or.th/ partner/ partner_Stor14836
สึนามิ.  (2547).  ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 24, 2554, จาก  http://www.photoontour.com/
events_ html/tsunami/data/data01.htm
สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาหลังการเกิดสึนามิ.  (2553).  ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 24, 2554, จาก
http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=5570