แหล่งสารสนเทศของจังหวัดตรัง


                                               แหล่งสารสนเทศของจังหวัดตรัง






1.  แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน
1.  มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง


                                            
                             


ที่ตั้ง: ถ.ตรัง-ปะเหลียน อ.เมืองตรัง จ.ตรัง รหัสไปรษณีย์  92000
เบอร์โทรศัพท์: 0-7550-1164-7
บริการต่างๆ ของห้องสมุดมีดังนี้
1.  บริการหนังสือและเอกสารเพื่อการศึกษาค้นคว้า หนังสือและเอกสารที่ให้บริการประกอบด้วย     ตำราเรียน,หนังสือทั่วไป,นวนิยาย, เอกสารวิชาการอื่นๆ
2.  บริการยืม-คืน หนังสือ
3.  บริการ Wireless LAN  สำหรับผู้ใช้บริการที่นำคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คเข้ามาใช้บริการตามจุดบริการที่กำหนดไว้
4.  บริการสืบค้นสารสนเทศ                                                                                                               
5.  บริการสืบค้นสารสนเทศผ่าน Internet 
6.  บริการสืบค้นสารสนเทศฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด
7.  บริการสืบค้นสารสนเทศฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
 
2.แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่

1.ที่ทำการปกครองอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง       

 


                                                                                     
ที่ตั้ง  ที่ว่าการอำเภอสิเกา  ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัด ตรัง 92150

โทรศัพท์  075291055 
  
การให้บริการ
1. บูรณาการและดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยอำนวยการบริหารราชการทุกภาคส่วน
2. เสริมสร้างการอำนวยความเป็นธรรม  ความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสังคม
3.  ส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  การบริการประชาชน  และการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.   เสริมสร้างความมั่นคงภายใน  พัฒนางานข่าวกรอง  และโครงข่ายการ  สื่อสาร  รวมทั้งการแก้ไข ปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ยังไม่มีสถานภาพที่ชัดเจน                                                
5.  จัดระเบียบชายแดนและบูรณาการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้                             
6.  สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                                        
7.  การขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติในระดับอำเภอ



2. อนุสาวรีย์ พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี      




                                                                  
              ที่ตั้ง ถนน  เพชรเกษมตำบล ทับเที่ยง อำเภอ เมืองจังหวัด  ตรัง 92000  อยู่ในเขตเทศบาลเมืองตรัง ทางไปจังหวัดพัทลุง ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 1กม. ผู้ที่เดินทางไปถึงจังหวัดตรังทุกคนมักแวะไปทำความเคารพอนุสาวรีย์ของท่าน บริเวณนั้นแต่เดิมเป็นที่ตั้งพระตำหนักผ่อนกาย    ซึ่งจัดรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันได้ตกแต่งเป็นสวนสาธารณะอันร่มรื่น เวลาเย็นๆ มีประชาชนไปพักผ่อนเป็นจำนวนมาก  พระยารัษฎาฯ ได้สร้างและทำนุบำรุงความเจริญแก่จังหวัดตรังไว้มาก เช่น ด้านคมนาคมในจังหวัดตรัง ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ด้านการศึกษา การปกครอง นโยบายรักษาความสงบและการสาธารณสุข ฯลฯ และเป็นผู้นำต้นยางต้นแรกที่ปลูกในจังหวัดตรัง จนแพร่หลายไปทั่วภาคใต้

3.อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม



มีอาณาเขตครอบคลุมพื้น
ที่ชายฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันตก ซึ่ง
ยาวถึง
20กิโลเมตรสถานที่ท่องเที่ยวใน
เขตอุทยานฯ ได้แก่ หาดปากเมง
,หาดฉางหลาง ,หาดสั้น, หาดยาว ,หาดหยงหลิง, หาดเจ้าไหม, ถ้ำเจ้าไหม บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวประกอบไปด้วยป่าชายเลน
หญ้าทะเล และเกาะเล็กเกาะน้อยต่างๆ
หาดทรายของที่นี่มีสีขาวนวลสวย  ตามแนวหาดมีต้นสนขนาดใหญ่ีที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นเรียงตัวกันอย่างหนาแน่นเป็นสีเขียวจัด ตัดกับหาดทรายสีขาวและน้ำทะเลสีฟ้าอ่อน ดูสวยงามเหมือนภาพวาดจากธรรมชาติที่สวยงามลงตัว  สถานที่ท่องเที่ยว เหล่านี้รถยนต์สามารถเข้าถึงได้สะดวก ยกเว้นถ้ำเจ้าไหมไหม ที่ต้องนั่งเรือไปตามคลองเจ้าไหมอีก
15 นาที นอกจากนี้ยังมีเกาะในเขตอุทยานฯ จำนวน 9 เกาะ ได้แก่ เกาะเมง เกาะปลิง เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะมุก เกาะกระดาน และเกาะเจ้าไหม เป็นต้น อุทยาน-แห่งชาติหาดเจ้าไหม มีเนื้อที่ทั้งสิ้น144,300ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 14ตุลาคม  2524
-  รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร.  5790529,  5794842          
                            
                                                                                                                                                                 





3.แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล

นายเลี่ยม  เพ็ชรพรหม

สถานที่ตั้ง   บ้านเกาะเคี่ยม  เลขที่   137/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 4  ตำบล  กันตังใต้   อำเภอ   กันตัง   จังหวัด   ตรัง รหัสไปรษณีย์ 92110  หมายเลขโทรศัพท์   075217586                   
         มีความรู้ความสามารถทางด้านการรักษาโรคต่างๆ ด้วยยาสมุนไพร เช่น โรคเลือดลม โรคต่างๆ ด้วยยาสมุนไพร เช่น โรคเลือดลม โรคฤดูเพศ โรคผิวหนังโดยยาสมุนไพรด้วยตนเองในการรักษา ปัจจุบันยังคงรักษาที่ในหมู่บ้านเกาะเคียม เป็นหมอสมุนไ
พรที่เป็นที่ย่อมรับมาก



4.แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์                                                 
                                                   
              งานเทศกาลขนมเค้ก



 





 
ชาวตรังมีชื่อเสียงในการทำขนมเค้กมาช้านาน โดยเฉพาะที่บ้านลำภูรา เป็นแหล่งผลิตขนมเค้กมาแต่ดั้งเดิม เอกลักษณ์ของขนมเค้กของชาวตรังจะไม่ใช้ครีมตกแต่งหน้าเค้ก ขนมเค้กมีหลายรส เช่น รสส้ม รสกาแฟ รสสามรส รสใบเตย รสเนย งานเทศกาลขนมเค้กจัดเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนสิงหาคม บริเวณถนนสถานี

 

งานเปิดฟ้าทะเลตรัง


 

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง ในช่วงเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว งานจะจัดในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

 

งานเทศกาลหมูย่าง  





                เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง ช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ภายในงานมีหมูย่างสูตรพิเศษของเมืองตรังจากร้านต่างๆ ในจังหวัด งานจัดบริเวณสี่แยกธรรมรินทร์ ถนนสถานี




5.  แหล่งสารสนเทศที่เป็นสื่อมวลชน

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง

****คลื่นวิทยุชุมชนจังหวัดตรังมีจำนวนทั้งหมด 36 สถานี ตัวอย่าง ดังนี้

สถานีวิทยุชุมชนคนรักษ์ถิ่นตรัง  คลื่นความถี่ FM 93.00 MHZ
ที่ตั้ง 94/3 หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

            สถานีวิทยุชุมชนศรีตรัง เรดิโอ  คลื่นความถี่ FM 93.75 MHZ
ที่ตั้ง หมู่บ้านศรีตรัง ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง

            สถานีวิทยุชุมชน OK Love  คลื่นความถี่ FM 92.25 MHZ
ที่ตั้ง 94/5 ถนนน้ำผุด  ตำบลทับเที่ยง   อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

            สถานีวิทยุชุมชนแฮปปี้ เรดิโอ  คลื่นความถี่ FM 98.20 MHZ
ที่ตั้ง 188 ถนนเพชรเกษม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

            สถานีวิทยุชุมชน เมาท์ซี่ ปากดี เรดิโอ คลื่นความถี่ FM 103.50 MHZ
ที่ตั้ง 132  ถนนโคกขัน  ตำบลทับเที่ยง   อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

            สถานีวิทยุชุมชนทับเที่ยง เรดิโอ  คลื่นความถี่ FM 105.25 MHZ
ที่ตั้ง 94/2  ถนนน้ำผุดใต้ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 
                                                                   
ที่ตั้ง  เลขที่ 254 ถนนตรัง-สิเกา ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง                                       
โทรศัพท์ 075-570536 โทรสาร 075-570534  
                                                                            
เขตบริการ  ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตรัง และจังหวัดใกล้เคียง(พัทลุง, นครศรีธรรมราช กระบี่, สตูล) บางส่วน  สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง ดำเนินการส่งกระจายเสียง 2 ระบบ ประกอบด้วย ระบบ AM และระบบ FM มี การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของท้องถิ่นของจังหวัด

****สื่อวารสารสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์ : ตรังนิวส์ รักษาการบรรณาธิการ : นายสกนธ์ สินไชย
ที่ตั้ง 111/2 ถนนพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000 โทร.075-221064

หนังสือพิมพ์ : ข่าวเมืองตรัง บรรณาธิการ : นายมนต์เจริญ ศรีมงคล
ที่ตั้ง 175/164 ถ. หนองยวน ต.ทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000  โทร.081-6073888

 
      
                    
6.แหล่งสารสนเทศที่เป็นศูนย์ CD-ROM
                                                             
                                                             ไม่ปรากฎแหล่งข้อมูล


 7.แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต



 http://www.trang.go.th/ -จังหวัดตรัง ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดตรัง ประวัติความเป็นมา 
 ตราประจำจังหวัด  คำขวัญประจำจังหวัด                     
                                                                                                                                    
 http://www.trangzone.com-ข้อมูลจังหวัดตรัง ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง แผนที่ 
 ประวัติจังหวัด  การเดินทาง คู่มือนักท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว





บรรณานุกรม

ที่ทำการปกครองอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง.  (2554).  ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม  19,
2554จาก http://www.sikao.dopatrang.go.th/album/.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง.  (2554).  
ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม 19, 2554, จาก  http://joomla.ru.ac.th/trang/
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง.  (2554).  ค้นคืนเมื่อ
กรกฎาคม  19 2554, จาก http://dir.thaijobpost.com/tag
แหล่งสารสนเทศจังหวัดตรัง.  (2553).  ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม  19, 2554, 
จาก  http://varalee-pan/. blogspot.cpanom/2010/09/blog-post.html
อนุสาวรีย์ พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี.  (2554).  ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม  192554,